วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

รหัสวิชา ว31241 รายวิชา ชีววิทยา

จัดทำโดย

นางสาว อัจฉราพรรณ    สุนีย์        เลขที่23
นางสาว อรวรรณ          ผุยทา      เลขที่29
 นางสาว สิริกุล              ไลไธสง   เลขที่ 20

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/1

เสนอ
คุณครู เวียงชัย   อติรัตนวงษ์

โรงเรียนขามแก่นนคร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 



 คำนำ
หนังสือ E-book เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้าเเละประกอบการเรียนรู้ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วย สารบัญ เซลล์เเละทฤษฏีเซลล์
           หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ E-book เล่มมนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนและผู้ที่สนใจ หากมีข้อผิดพลาดประการใดคณะผู้จัดทำยินดีรับคำติชมและข้อเสนอเเนะ เพื่อนำไปปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
            ขอขอบคุณ คุณครู เวียงชัย  อติรัตนวงษ์ เป็นอย่างยิ่งที่ให้คำปรึกษาเเละคำเเนะนำตลอดทั้ง
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ทำให้หนังสือเล่มนี้สมบูรณ์ด้วย
                                                     
                                                                         ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบาย โครงสร้างและหน้าที่ของส่วนประกอบภายในเซลล์ที่ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
2.อภิปรายและสรุปเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเซลล์ การเปลี่ยนแปลงสภาพของเซลล์และการชราภาพของเซลล์

                                                                                 แบบทดสอบ

1.อัตราการแพร่ของแก๊สไฮโดรเจน และแก๊สออกซิเจนในตัวกลางเดียวกัน จะต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร
    1. แก๊สไฮโดรเจนแพร่ได้เร็วกว่า เพราะมีความหนาแน่นมากกว่า
    2. แก๊สไฮโดรเจนแพร่ได้ช้ากว่า เพราะมีน้ำหนักโมเลกุลมากกว่า
    3. แก๊สไอโดรเจนแพร่ได้เร็วกว่า เพราะมีน้ำหนักโมเลกุลน้อยกว่า
    4. แก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจน แพร่ได้เร็วเท่ากัน เพราะเป็นแก๊สเหมือนกัน

2.จงเรียงลำดับความสามารถในการผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของสารต่างๆ จากมากไปน้อย
    1. น้ำ แก๊สต่างๆ สารที่ละลายในไขมัน น้ำตาล
    2. แก๊สต่างๆ น้ำ สารที่ละลายในไขมัน น้ำตาล
    3. สารที่ละลายในไขมัน น้ำ แก๊สต่างๆ น้ำตาล
    4. น้ำตาล แก๊สต่างๆ น้ำ สารที่ละลายในไขมัน

3.เซลล์ใดในร่างกายที่น่าจะมีไมโทคอนเดรียมากที่สุด
    1.เซลล์ประสาท  2.เซลล์กระดูก  3.เซลล์ตับ  4.เซลล์เม็ดเลือดแดง

4.ถ้าท่านต้องการให้แบคทีเรียชนิดหนึ่ง สังเคราะห์สารบางอย่างเพิ่มขึ้นจากปกติ ควรจะทำการตัดต่อที่ส่วน     ใดของเซลล์
   1.ผนังเซลล์  2.นิวคลีโอลัส  3.เซนทริโอล  4.โครมาทิน

5.วิธีการนำสารเข้าสู่เซลล์ โดยการเว้าเข้าไปของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นถุงเล็กๆ และสารอาหารเข้ามาในถุงนี้เรียกว่าอะไร พบในเซลล์พวกใด
   1. พิโนไซโทซิส พบในอะมีบา  2. ฟาโกไซโทซิส พบในอะมีบา
   3. พิโนไซโทซิส พบในเซลล์ที่หน่วยไต  4. ฟาโกไซโทซิส พบในเซลล์ที่หน่วยไต

6.อะมีบานำอาหารเข้าสู่เซลล์ได้โดยวิธีใด
    1. ฟาโกไซโทซิส  2. ไซโคลซิส  3. เพอริสทัลซิส  4. พิโนไซโทซิส

7.ออร์แกเนลล์ใดของเซลล์ ทำหน้าที่คล้ายโรงงานผลิตโปรตีน
   1. ไมโทคอนเดรีย  2.ไลโซโซม  3. คลอโรพลาสต์  4. ไรโบโซม

8.องค์ประกอบใดที่พบเฉพาะในเซลล์สัตว์
    1. ไมโทคอนเดรีย  2. ไลโซโซม  3. คลอโรพลาสต์  4. ไรโบโซม

9.สมบัติในข้อใดที่ทำให้สารผ่าน Cell memdrane ได้ดีที่สุด
  1.ละลายได้ในน้ำ  2. ละลายได้ในไขมัน  3. เป็นสารที่มีประจุ  4. มีพาหะที่เป็นตัวพาไป

10.ส่วนประกอบที่ทุกเซลล์ของสิ่งีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทีชีวิตชั้นต่ำหรือชั้นสูงจะต้องมีคือ
     1. นิวเคลียส  2. เยื่อหุ้มเซลล์  3. คลอโรพลาสต์  4. เซนทริโอล   

                                                                              เฉลยแบบทดสอบ
1. ตอบ 4
2. ตอบ 1
3. ตอบ 3
4. ตอบ 4
5. ตอบ 3
6. ตอบ 1
7. ตอบ 4
8. ตอบ 2
9. ตอบ 2
10. ตอบ 4


โครงสร้างหน้าที่ของเซลล์พืชและสัตว์

          เซลล์ (cell) เป็นโครงสร้างและหน่วยทำงานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ในบางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต ("building blocks of life") สิ่งมีชีวิตบางชนิดเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (unicellular organism) เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ แต่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น พืช สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) (มนุษย์มีเซลล์อยู่ประมาณ 100 ล้านล้าน หรือ 1014 เซลล์)
          ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า  สิ่งมีชีวิตทั้งหมด
ประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมด มีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells)
ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์
ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงาน
ของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป
          คำว่า  เซลล์  มาจากภาษาละตินที่ว่า  cella  ซึ่งมีความหมายว่า  ห้องเล็กๆ  ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก
(Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็กๆ
          เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ถึงแม้จะมีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกัน  แต่มีโครงสร้างพื้นฐานหรือส่วนประกอบที่สำคัญภายในเซลล์คล้ายคลึงกัน



เซลล์สัตว์


เซลล์พืช


เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane)

          เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เยื่อหุ้มเซลล์ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโมเลกุลของ โปรตีนและไขมันมีลักษณะเป็นเยื่อบ่าง ๆ มีความยืนหยุ่นได้ และมีรูพรุนสามารถจำกัดขนาดของสารที่ผ่านเข้าออกได้ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน คือ  ยอมให้โมเลกุลของสารขนาดเล็กผ่านได้  เช่น  น้ำ  ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ส่วนสารขนาดใหญ่ผ่านไม่ได้  เช่น  โปรตีน  คาร์โบไฮเดรต
และไขมัน 
          หน้าที่ของเยื่อหุ้มเซลล์  คือ  ห่อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้  ช่วยคัดเลือกสารและควบคุมปริมาณของสารที่ผ่านเข้าและออกจากเซลล์
   
             

                                ภาพเเสดงเยื้อหุ้มเซลล์



ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm)
  ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) เป็นของเหลวที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด  รวมทั้งส่วนที่เป็นออร์แกเนลล์ (Organelle)  เป็นส่วนประกอบที่เทียบได้กับอวัยวะที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ให้แก่เซลล์มีหลายอย่าง เช่น ไรโบโซม (ribosome) มีลักษณะเป็นวงกลมหรือรูปไข่ทำหน้าที่สร้างหรือสังเคราะห์โปรตีน

ภาพเเสดงไซโตพลาซึม

นิวเคลียส (Nucleus)

          นิวเคลียส (Nucleus) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ มีลักษณะค่อนข้างกลม มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น
มีรูเล็ก ๆ เป็นเยื่อเลือกผ่านซึ่งเป็นทางผ่านของสารต่าง ๆ เข้าและออกจากนิวเคลียส  ภายในมีโครโมโซม
บนโครโมโซมมีหน่วยพันธุกรรมหรือยีนอยู่
          หน้าที่ของนิวเคลียส  เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ของสิ่งมีชีวิต  และควบคุมการทำงานของเซลล์และการเจริญเติบโต  เป็นแหล่งสังเคราะห์สารพันธุกรรม
และควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์
          ส่วนประกอบของนิวเคลียส มีดังนี้
              1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear membrane)
                         - มีลักษณะเหมือนกับเซลล์เมมเบรน
                   - ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมัน บางครั้งจะมีไรโบโซมมาเกาะอยู่
                   - จะมีรู (pores) มากมาย ซึ่งเป็นทางผ่าน เข้าออกของสารต่าง ๆ
              2. โครมาติน (Chromatin)
                   - เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ติดสีย้อม
                   - ส่วนที่ติดสีย้อมเข้มเรียกว่า  เฮทเทอโรโครมาติน (heterochromatin)
                   - ส่วนที่ติดสีจาง ๆ เรียกว่า ยูโครมาติน (euchromatin) ซึ่งเป็นที่อยู่ของยีนหรือดีเอ็นเอ
                   - โครมาตินจะหดสั้นเข้าและหนาในขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัวซึ่งเรียกว่า โครโมโซม
                   - สิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดก็จะมีจำนวนโครโมโซม แตกต่างกันไป
              3. ส่วนประกอบของนิวเคลียส
                   - มีรูปร่างกลม ๆ จำนวนไม่แน่นอนเกาะติดกับโครโมโซม
                   - เป็นส่วนที่ติดสีย้อมชัดเจน
                   - องค์ประกอบทางเคมี คือโปรตีน, RNA และเอ็นไซม์อีกหลายตัว
                   - ทำหน้าที่ของเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์
ข้อควรรู้
          เซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ไม่มีนิวเคลียส 
ภาพแสดงนิวเคลียส

ผนังเซลล์ (Cell Wall)
     ผนังเซลล์ (Cell Wall)  เป็นผนังแข็งแรงอยู่ชั้นนอกสุดของเซลล์พืชส่วนใหญ่ สร้างจากสารเซลโลโลส  เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ทำให้เซลล์ทนทานและเป็นเยื่อที่ยอมให้สารต่าง ๆ  ผ่านเข้าและออกจาก เซลล์ได้   มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงและป้องกันอันตรายให้กับเซลล์
ภาพเเสดงผนังเซลล์

ไลโซโซม (Iysosome)
         ไลโซโซม (Iysosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่พบ เฉพาะในเซลล์สัตว์และโปรติสต์บางชนิดรูปร่างค่อนข้างกลม ทำหน้าที่สะสมเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ และทำลายของเสียภายในเซลล์


ภาพเเสดงไลโซโซม
ครอโรพลาสต์ (Chlorplast)
       คลอโรพลาสต์ (Chlorplast) พบในไซโทพลาซึม ของเซลล์พืชบางชนิด มีลักษณะเป็นเม็ดสีเขียวมีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น โดยชั้นนอกทำหน้าที่ควบคุมโมเลกุลของสารที่ผ่านเข้าออก  ชั้นในมีสารสีเขียวที่เรียกว่า  คลอโรฟิลล์ (Cholorophyll)  มีสมบัติดูดพลังงานแสงมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงทำให้พืชสามารถสร้างอาหารได้เอง  ซึ่งเซลล์สัตว์ไม่มีคลอโรพลาสต์
ภาพแสดงคลอโรพลาสต์
กอลจิบอดี (Golgi boby)
  กอลจิบอดี (Golgi boby) หรืออีกอย่างหนึ่งว่า กอจิแอพพาราทัส มีลักษณะเป็นท่อหรือถุงแบน ๆเรียนซ้อนกันหลายชั้น   ทำหน้าที่เป็นแหล่งสร้างคาร์โบโฮเดรตที่รวมกับโปรตีน  ซึ่งสร้างมาจากร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูรัม  และมีส่วนสำคัญในการสร้างผนังเซลล์ของพืชและสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ของสัตว์
ภาพเเสดงกอลจิบอดี

                        ร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูรัม (Endoplasmic Reticulum)             ร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูรัม (Endoplasmic Reticulum) มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ สองชั้นเรียงทบไปทบมาคล้ายถุงแบน ๆ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่มีไรโบโซมเกาะอยู่ ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนและเป็นทางส่งโปรตีนนี้ออกนอกเซลล์ และชนิดที่ไม่มีไรโบโซมเกาะอยู่
ภาพแสดงร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูรัม

ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
        ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)  มีลักษณะกลมจนถึงเรียวแตกต่างกันตามชนิดของสิ่งมีชีวิตทำหน้าที่เป็นแหล่งสร้างพลังงานให้แก่เซลล์
ภาพแสดงไมโทคอนเดรีย

แวคิวโอล (Vaculoe)
          แวคิวโอล (Vaculoe) มีลักษณะเป็นถุงใสที่มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำในเซลล์ สะสมน้ำ เก็บอาหาร และขับของเสียที่เป็นของเหลว
ภาพแสดงแวคิวโอล